รู้จัก ม.112 กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ รายละเอียด ที่มา

รู้จัก ม.112 กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ รายละเอียด ที่มา

ม.112 คือ กฎหมายมาตราหนึ่งที่ระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ความว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี”

กฎหมายโทษผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ถูกตราครั้งแรกในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2453)  

และมีการเพิ่มให้การ “ดูหมิ่น” เป็นความผิด และเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐในประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 และมีการเพิ่มโทษครั้งล่าสุดในปี 2519 ในประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างมากของมาตรา 112 คือการตีความ อย่างไหนถึงเข้าข่ายดูหมิ่น หมิ่นประมาท

หลังรัฐประหารปี 2557 มีการเปลี่ยนคดีให้ศาลทหารพิจารณา และในปี 2558 มีการลงโทษจำคุกจำเลยคนหนึ่ง 60 ปี แต่ลดโทษเหลือกึ่งหนึ่งเพราะยอมรับสารภาพ นับเป็นโทษสูงสุดที่เคยมีมา บางฝ่ายออกมาเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายนี้

แต่นับจากหลังจากปี 2561 เป็นต้นมา ยังไม่มีการบังคับใช้มาตรา 112 อีก แต่ผู้กระทำการใด ๆ มักจะถูกกฎหมายอื่นแทน เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550  หรือ ม.116

มาตรา 112 ถูกหยิบยกมาพูดถึงอีกครั้งในการเมืองช่วงล่าสุด ของการชุมนุมประท้วงของประชาชน ที่หนึ่งในข้อเรียกร้องคือให้มีการปฏิรูปสถานบันพระมหากษัตริย์ แต่ฝ่ายผู้สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์กลับมองว่าเป็นการล้มล้าง ทำให้หลายคนเรียกร้องให้มีการนำ มาตรา 112 กลับมาบังคับใช้อีกครั้ง เช่น ม.จ. จุลเจิม ยุคล

ด้านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นากรัฐมนตรี ได้ออกแถลงการณ์นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 พ.ย. ที่ผ่านมา ว่าจะบังคับใช้กฎหมายทุกมาตรา ทุกฉบับกับผู้ชุมนุมประท้วงที่กระทำความผิด ซึ่งหลายฝ่ายคาดเดาว่าจะรวม ม.112 หรือไม่

ขณะที่ พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รอง ผบ ช.น. ฐานะโฆษก บช.น. กล่าวว่า ตำรวจทำตามหน้าที่ ไม่รู้สึกกลัวหากจะมีการนำ ม.112 มาใช้ เนื่องจากการทำผิดตามองค์ประกอบตามกฎหมายใด ก็จะเข้าข่ายกระทำผิดตามกฎหมายนั้น คงต้องดูการกระทำ กรรมซึ่งชี้เจตนา เจตนาของผู้กระทำเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของข้อกฎหมายถ้าไม่เข้าข้อกฎหมายการกระทำนั้นก็ไม่ผิด

ทนายอานนท์ ออกมาโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊คส่วนตัวว่า ประยุทธ์ อาจ ลาออก จากตำแหน่ง หลังถูกชุมนุมประท้วงขับไล่หนักอย่างต่อเนื่อง ประยุทธ์ลาออก – ทนาย อานนท์ หรือ อานนท์ นำภา หนึ่งในแกนนำคณะราษฎร ได้ออกมาโพสต์ลงเฟซบุ๊กส่วนตัวว่าพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี “อาจ” ลาออก จากตำแหน่งก่อนวันที่ 25 พ.ย. ซึ่งเป็นวันที่กลุ่มผู้ชุมนุมคณะราษฎร์นัดชุมนุมที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พร้อมกับนัดชุมนุมยืดเยื้อ 7 วัน

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 19 พ.ย. ที่ผ่านมาพลเอก ประยุทธ์ ได้ออกแถลงว่า จะใช้กฎหมายทุกมาตราที่มีอยู่อย่างเข้มงวด กับกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีพฤติการณ์ละเมิดกฎหมาย สร้างความขัดแย้ง และความเสียหายต่อชาติ และสถาบัน โดยการแถลงการครั้งนี้เกิดขึ้น หลังจากที่สถานการณ์ชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎรในวันที่ 17 – 18 พ.ย. ร้อนระอุขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านนายกรัฐมนตรียังไม่ได้ออกมาแถลงถึงข่าวลือดังกล่าว อย่างไรก็พลเอก ประยุทธ์ เคยประกาศว่า ไม่เคยท้อ และจะอยู่จนกว่าไม่ได้ทำ

สุด! ออกหมายเรียก 2 นักเรียนหญิงร่วมม็อบ คดีฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉิน

ออกหมายเรียก นักเรียน ม็อบ – อัปเดตข่าวความคืบหน้าเกี่ยวกับการชุมนุมของประชาชน ล่าสุด twitter นักเรียนเลว ได้โพสต์ข้อความว่า “ด่วน! พลอย เบญจมาภรณ์ นักเรียนชั้นม.4 ถูกออกหมายเรียก ฐานฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉิน เช่นเดียวกับมิน ลภนพัฒน์ ที่ถูกออกหมายไปก่อนหน้านี้ โดยคาดว่าหมายดังกล่าวเกิดจากการที่ทั้ง 2 ขึ้นปราศรัยในการชุมนุมที่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม หลังสลายการชุมนุม”

นักเรียนเลว ยังได้อัปเดตความคืบหน้าของน้องพลอยเพิ่มเติมอีกว่า

“ตอนนี้สภาพจิตใจของพลอยยังดีอยู่ และฝากบอกมายังทุกคนว่า

“ขอให้ออกมาร่วมชุมนุมวันพรุ่งนี้ให้เยอะ ๆ ตอนนี้เขาเริ่มคุกคามเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีแล้ว อย่าปล่อยให้อุดมการณ์ของพวกเราต้องโดดเดี่ยว ออกมาพร้อมกันให้แน่นราชประสงค์” #นักเรียนเลว #บ๊ายบายไดโนเสาร์”

พร้อมกันนี้ นักเรียนเลว ได้โพสต์ภาพหมายเรียกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระบุฐานความผิดว่า “ฝ่าฝืน” ข้อกำหนดที่ออกความตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชกาารในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

เมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่ผ่านมา กลุ่มราษฎรนัดชุมนุมกันที่สี่แยกราชประสงค์ และมีผู้ชุมนุมบางส่วน (ม็อบพ่นสี) ที่นำสีไปพ่นตามพื้น ตามป้าย หรือสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งมีบางข้อความที่ มจ.จุลเจิม ยุคล คิดว่าไม่เหมาะสม ก่อนจะเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ใช้ ม.112 จัดการบุคคลเหล่านี้

แนะนำ : รีวิวเครื่องใช้ไฟฟ้า | รีวิวอาหารญี่ปุ่น| รีวิวที่เที่ยว | ดาราเอวี